สงสัยอย่างสร้างสรรค์

อะไร ที่ไหน ทำไม การตั้งคำถามเป็นเรื่องที่ดี แต่จะสงสัยให้ดีต้องสงสัยอย่างไร https://dmc.tv/a24139

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ข้อคิดรอบตัว
[ 27 ต.ค. 2561 ] - [ ผู้อ่าน : 18283 ]
สงสัยอย่างสร้างสรรค์
อะไร ที่ไหน ทำไม การตั้งคำถามเป็นเรื่องที่ดี แต่จะสงสัยให้ดีต้องสงสัยอย่างไร

เรื่อง : พระครูปลัดสุวัฒนโพธิคุณ (สมชาย ฐานวุฑฺโฒ)
จากรายการข้อคิดรอบตัว ออกอากาศทางช่อง DMC



ความสงสัยมีแบบสร้างสรรค์และไม่สร้างสรรค์ มีความเหมือนหรือความแตกต่างกันอย่างไร?
          ความสงสัยชนิดที่นำไปสู่การค้นพบ และความก้าวหน้าทางวิทยาการต่างๆ เช่น Sir Isaac Newton สงสัยว่า ทำไมลูกแอปเปิ้ลหลุดจากขั้วแล้วร่วงมาที่พื้น ทำไมไม่ลอยขึ้นไปบนฟ้า ทำไมต้องร่วงลงมาในทิศทางลงมาสู่พื้นโลกด้วย แสดงว่าต้องมีแรงอะไรบางอย่างดูดลูกแอปเปิ้ลให้ลงมาที่พื้น แล้วพยายามหาคำตอบ สุดท้ายจึงค้นพบ “แรงโน้มถ่วงของโลก” การสงสัยอย่างนี้ สงสัยแล้วสร้างสรรค์ เพราะนำไปสู่การค้นคว้าหาคำตอบ แล้วได้เจอวิทยาการใหม่ๆ คำตอบใหม่ๆ นำไปสู่ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่างๆ ส่วนความสงสัยอีกแบบหนึ่ง เป็นความสงสัยแบบทั่วๆไป หรือความอยากรู้อยากเห็น เช่นอยากรู้ว่า เพื่อนกินข้าวกับอะไร ไปเที่ยวที่ไหน บรรยากาศการท่องเที่ยวเป็นอย่างไรบ้าง บางคนเข้าไปดูเฟสคนอื่น แล้วเข้าฟีดนั้นฟีดนี้ไปเรื่อย เพราะอยากรู้ว่าคนอื่นเขาทำอะไรอย่างไรบ้าง เป็นความอยากรู้อยากเห็น ไม่ได้เกิดประโยชน์ ไม่รู้กับรู้ไม่แตกต่างกัน แค่ไม่ตกข่าวคุยกันพอรู้เรื่อง 




          เราควรเลือกรู้ในสิ่งที่คิดว่า รู้แล้วเป็นประโยชน์ต่ออาชีพการงาน เป็นประโยชน์ต่อสิ่งที่จะไปต่อยอดเพื่อการตัดสินใจบางอย่าง การอยากรู้เรื่องชาวบ้าน เป็นการรู้ที่ไม่ค่อยเกิดประโยชน์ ต้องแยกแยะให้ดี คนติดนิยายเป็นเพราะความสงสัยอยากรู้อยากเห็น คนเขียนมักเลือกจบตอนที่มีจุดไคลแมกซ์ ทำให้อยากรู้ว่าผลลัพธ์เป็นอย่างไร เมื่อถึงตอนที่กำลังอยากรู้อยากเห็น จะมีคำว่า “โปรดติดตามตอนต่อไป” จึงต้องติดตามอ่านวันรุ่งขึ้นเพราะความอยากรู้อยากเห็นทำให้ติดนิยาย บางครั้งอ่านได้ทั้งคืนจนสว่าง เพราะพออ่านหน้านี้ไปแล้วก็อยากจะรู้ว่า มันจะเกิดอะไรขึ้นในหน้าต่อไป แล้วฉากต่อไปจะเกิดอะไรขึ้น อารมณ์อยากรู้อยากเห็นทำให้อ่านไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นเราต้องมาเช็คตัวเองว่าเราอยากรู้อยากเห็นมากเกินไปจนกระทั่งเสียเวลาของชีวิต หรือเป็นความสงสัยอย่างสร้างสรรค์

การตั้งคำถาม อะไร ทำไม บ่อยๆ คือความลังเลสงสัย เป็นวิจิกิจฉาในนิวรณ์ 5  ใช่หรือไม่?



          ในชีวิตประจำวันการเรียนหนังสือเป็นการใช้ จินตามยปัญญาคือปัญญาที่เกิดจากการคิดวิเคราะห์ ต้องพยายามหาข้อมูล แสวงหาความรู้ แสวงหาคำตอบ แต่ตอนนั่งสมาธิ(Meditation) เราไม่ต้องไปสงสัยอะไรมาก ทำด้วยใจนิ่งๆ เป็นระดับของปัญญาแบบภาวนามยปัญญา คือปัญญาที่เกิดจากการภาวนา การจะเห็นแจ้งได้ ใจต้องสงบ แล้วจะสว่าง ถึงจะส่องให้เห็นความจริงของโลกและชีวิตโดยไม่ต้องคิด เป็นลักษณะการเห็นคำตอบ เป็นญาณทัศนะซึ่งเป็นปัญญาอีกระดับ ตอนนั่งสมาธิไม่ต้องมีวิกิจฉา ไม่ต้องนั่งคิดสงสัยเพราะระดับนี้ไม่ใช่ระดับที่ใช้ความคิด เป็นระดับที่ต้องหยุดคิด “ให้ออกจากความคิดทำจิตให้สงบแล้วจะพบทางออก” 



         เด็กซึ่งเป็นวัยที่มีจินตนาการ มีความคิดในโลกจินตนาการ จะชอบไปดิสนีย์แลนด์ เพราะรู้สึกเป็นดินแดนในเทพนิยาย ใช้จินตนาการแบบอิสระเสรี เหมือนหลุดไปอีกโลกหนึ่งที่สามารถใช้จินตนาการได้เต็มที่ แต่พอโตขึ้นจินตนาการจะลดน้อยลงเพราะเกิดการเรียนรู้แล้วรู้สึกว่าเรื่องนี้เป็นไปไม่ได้ เมื่อมาเชื่อมโยงกับสิ่งที่ไอสไตล์บอกว่า “จินตนาการสำคัญกว่าความรู้” ดังนั้นการที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบอะไรใหม่ๆได้ต้องอาศัยพลังแห่งจินตนาการ อย่าไปคิดว่าจินตนาการฟุ้งซ่านเหมือนกับเด็กอยู่ในเทพนิยาย แต่มีจินตนาการแล้วแสวงหาคำตอบสุดท้ายจินตนาการ 10 เรื่อง อาจมี 8 เรื่อง ที่เป็นเรื่องที่เลื่อนลอย และอาจมี 2 เรื่องตรงเป้าทำให้ทะลวงพรมแดนแห่งความรู้ดั้งเดิมของมนุษย์ออกไปสู่พรมแดนใหม่ ขยายพรมแดนของความเข้าใจโลกและชีวิตกว้างออกไป นี่คือพลังจินตนาการที่ทะลุทะลวงไปได้ เด็กมีพลังจินตนาการที่มากมาย ถ้าผู้ใหญ่ดูแลเด็กเป็นเด็กจะเติบโตขึ้นมาแล้วฉลาด



          ดังนั้นผู้ใหญ่ไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อคุณแม่ ครูบาอาจารย์ก็ตาม อย่าไปจำกัดพลังจินตนาการของเด็ก ค่อยๆ ตอบค่อยๆ ไกด์ ซึ่งผู้ใหญ่มี 2 แบบ แบบหนึ่งคือเมื่อเจอคำถามที่ตอบไม่ได้ก็ใช้อำนาจเข้าไปข่มเด็ก อีกแบบหนึ่งคืออธิบายให้เด็กยอมรับด้วยการให้เหตุให้ผล อยากให้เด็กทำอะไร อยากให้คนอื่นทำอะไร เด็กก็มีสิทธิ์ให้เหตุผลได้ ผู้ใหญ่ต้องมีเหตุผลที่ดีกว่ามีข้อมูลที่มากกว่าอธิบายให้เขายอมรับได้ หากตอบไม่ได้ก็บอกตรงๆ ไม่ต้องกลัวเสียหน้าว่าเรื่องนี้ยังไม่รู้ เดี๋ยวจะไปหาข้อมูลมา แล้วจะมาอธิบายให้ฟัง ถ้าอย่างนี้แล้วแล้ว พลังความรู้ความสามารถจินตนาการของคนจะถูกเอามาใช้อย่างเต็มที่ แล้วสังคมนั้นจะเจริญ 



          ความสงสัยมีสองแบบ คือสงสัยแบบไม่สร้างสรรค์ สงสัยแล้วไม่เกิดประโยชน์ได้คำตอบมาก็ไม่มีคุณอะไร แต่ถ้าสงสัยแบบสร้างสรรค์ ก็จะทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ เป็นคุณกับโลกและมวลมนุษยชาติ จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ เพราะฉะนั้นผู้ปกครองรวมถึงผู้ใหญ่ ควรปล่อยให้เด็กๆมีความคิดและจินตนาการที่กว้างไกล เพื่อพวกเขาเหล่านั้นจะได้พัฒนาศักยภาพในตัวเองได้อย่างเต็มที่



รับชมคลิปวิดีโอสงสัยอย่างสร้างสรรค์ : ข้อคิดรอบตัว
ชมวิดีโอสงสัยอย่างสร้างสรรค์ : ข้อคิดรอบตัว   Download ธรรมะสงสัยอย่างสร้างสรรค์ : ข้อคิดรอบตัว





พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ทำไมจีวรพระต้องเป็นสีเหลือง
      ขอไม่นับถือพระสงฆ์
      ข้อคิดธรรมะของพระสุธรรมญาณวิเทศ (สุธรรม สุธมฺโม) จากหนังสือ "หน้าสุดท้าย"
      I can’t respect monks, can I?
      กราบไหว้ทำไม งมงาย !
      Why do people have to pay homage? Ignorant!
      โซเดียม อันตรายใกล้ตัว
      บวชให้สุก
      พลังหญิง
      ตักบาตรใส่บุญ(ตอนที่2)
      ตักบาตรใส่บุญ (ตอนที่1)
      ปัญหามรดก
      ยิ่งใหญ่ในรายละเอียด




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related